ค้นหาบล็อกนี้

ต้อนรับจ้า

สวัสดีผู้ชมทุกท่าน >,

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กฎของเมนเดล” (Rules of Heredity หรือกฎของการสืบสายเลือด)

“กฎของเมนเดล” (Rules of Heredity หรือกฎของการสืบสายเลือด) ในช่วงปี 1850
แน่นอนว่า...ประวัติศาสตร์แห่งวงการพันธุศาสตร์ต้องเริ่มต้นจาก บาทหลวงชาวออสเตรียที่เป็นนักพฤกษศาสตร์นามว่า “เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล” (Gregor Mendel) ที่ได้ค้นพบข้อมูลการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น โดยเมนเดลได้ทดลองกับพืชตระกูลถั่ว เขาสังเกตว่าลักษณะบางอย่างของต้นถั่วรุ่นลูก อย่างเช่นความสูง การแสดงถึงลักษณะเด่นเหล่านี้จะแตกต่างกันไป

โดยกฎแห่งการสืบสายเลือด หรือกฎของเมนเดลนั้นจะมีลักษณะเด่น (Dominant) และลักษณะด้อย (Recessive) เมื่อพ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นมาผสมกัน ก็จะได้ลูกเด่นทั้งหมด แต่ถ้านำด้อยมาผสมกันก็จะได้ลูกลักษณะด้อยทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้านำเด่นกับด้อยมาผสมกันผลที่ได้ในรุ่นลูกคือ “เด่น” ทั้งหมด แต่ถ้านำไปผสมกันในรุ่นหลานก็จะได้ เด่นแท้-ด้อยแท้-เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน ลองดูตามตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย

1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT)

2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt)

3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt)

4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3

ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50%

5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4

เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา



ผลงาน

เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา



เอกสารอ้างอิง http://www.mgronline.com/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000089123

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำถามดาราศาสตร์พื้นฐาน

1.    ดาวเคราะห์อะไรบ้างที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่า
2.  แถบดาวเคราะห์แคระอยู่ระหว่างดาวใด
3.  กาลิเลโอ  สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคนแรก และค้นพบอะไรบ้าง (มี 4 ข้อ)
4.  ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสที่กาลิเลโอพบมีชื่อว่าอะไรบ้าง
5.  ระบบสุริยะมีขอบเขตกว้างเท่าไร
6.  ระบบสุริยะมีอายุประมาณเท่าใด
7.  โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามกฎมืออะไร
8.  ดาวศุกร์หมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นเพราะเหตุใด
9.  อุกกาบาตมีกี่ชนิด
10.        ดาวหางประกอบด้วยอะไรบ้าง
11.          โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศใดไปทิศใด
12.        กฎทั้งสามข้อของเคปเลอร์  (Kepler) กล่าวถึงอะไรบ้าง
13.        หนึ่งวันโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์กี่องศา จงแสดงวิธีคิดด้วย












เฉลย
1.พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์
2.ดาวอังคารกับดาวพฤหัส
3.ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส 4 ดวง, จุดดำบนดวงอาทิตย์, ดาวศุกร์มีเสี้ยวเหมือนดวงจันทร์, บนดวงจันทร์มีหลุมอุกกาบาต
4.ไอโอ ยูโรปา กานีมีด คาลลีสโต
5.มีขอบเขตรัศมีกว้าง 2.4 ปีแสง
6.มีอายุประมาณ 4600 ล้านปี
7.มือขวา
8.ดาวศุกร์มีแกนหมุนชี้คนละด้านกับดาวเคราะห์ดวงอื่น
9. 3 ชนิด
10.ประกอบด้วย นิวเคลียส โคม่า และหาง มีน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และเปลือกแข็งมีเศษฝุ่นปนน้ำแข็ง
11.ทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก
12.ข้อที่1 คือ กฎแห่งงการโคจรรูปวงรี
         ข้อที่ 2 คือ กฎแห่งพื้นที่
        ข้อที่3 คือ กฎแห่งคาบ
13.        1 องศา
วิธีทำ    365.25 วัน = 360 องศา
                   1 วัน = 360 * 1/365.25 วัน
                          = 0.98
           ดังนั้น 1 วันได้ประมาณ 1 องศา




วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลุมบนดวงจันทร์


แหล่งที่มาข้อมูล : ค่าย สอวน. ศูนย์ม.นเรศวร 2553

การจำแนกพวกของดาวเคราะห์

การจำแนกพวกของดาวเคราะห์สามารถแบ่งได้ 3 วิธี คือ
1.      กำหนดจากวงโคจรของโลกเป็นหลัก
2.      กำหนดจากวงโคจรของแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นหลัก
3.      พิจารณาจากองค์ประกอบคล้ายคลึงกับโลก


****การกำหนดจากวงโคจรของโลกเป็นหลัก
               1. ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets)
คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่าโลก
ได้แก่ พุธและศุกร์
            2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ อังคาร พฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัสและเนปจูน


กำหนดจากแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นหลัก
           1. ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคาร
           2. ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาว พฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน


พิจารณาองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับโลก
           1. Terrestrial Planets (ดาวเคราะห์หิน) คือ ดาวเคราะห์ที่องค์ประกอบคล้ายโลก คือ พุธ ศุกร์ โลกและอังคาร
           2.  Jovian Planets (ดาวเคราะห์แก๊ส) คือ ดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสฯ คือ พฤหัสฯ เสาร์   ยูเรนัส และเนปจูน