สตีคือพิธีฆ่าตัวตายตามสามีที่เสียชีวิตไปของผู้หญิงอินเดียสมัยโบราณ
ด้วยการกระโดดเข้ากองไฟขณะไฟกำลังลุกไหม้ศพของสามี
ซึ่งมีทั้งผู้หญิงที่เต็มใจทำ โดนกดดันจากสังคม โดนล้างสมองด้วยค่านิยมผิดๆ
และโดนจับโยนเข้ากองไฟโดยไม่เต็มใจ
ชาวอินเดียเชื่อว่าพิธีนี้เริ่มมาจากรานีองค์หนึ่ง
ชื่อนารยารานี เทวี ชายาของตันธัน ดัสผู้เสียชีวิตเพราะสุลต่านแห่งแคว้นฮีสสาอยาก
ได้ม้ามงคลเลยแย่งด้วยการสังหารสวามีของนารยารานี นางเสียใจมากเลยยอมตาย
พร้อมสวามีด้วยการกระโดดเข้ากองเพลิง จากนั้นประชาชนก็เลียนแบบมาเรื่อยๆ
และตั้งชื่อนางว่า Rani Sati บริเวณทำสตีได้สร้างเป็นวัดฮินดู
มีแท่นหินอ่อนจารึกประวัติตรงจุดเผาตัวเอง วัดรานีสตีนี้ยังมีสาขาอยู่ทั่วอินเดีย
มีการเฉลิมฉลองช่วงเดือนตุลาคมทุกปี
แต่จากการขุดค้นของนักโบราณคดี
ที่ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณเมื่อปี 1978 ที่ตำบลหาดาห์ รัฐอุตตรประเทศ
ทำให้รู้ว่าพิธีสตีมีมานานเป็นหมื่นปีแล้ว ในคัมภีร์พระเวทริกะวิตาห้ามไม่ให้ทำพิธีสตี
(ต่อมาโดนบิดเบือนสนับสนุนพิธี) ส่วนในคัมภีร์กรุณาปุราณะ
และคัมภีร์ภควคีตาปุราณะ (ค.ศ 900) สรรเสริญความกล้าหาญของชายาพระกฤษณะ
ที่โดดเข้ากองไฟตามพระกฤษณะไปปรโลกทำให้ผู้หญิงอินเดียทั่วไปเอาอย่าง
พิธีสตีแพร่หลายในพวกคาเธีย (Kathia) ในแคว้นปัญจาบ
ดิโอโดรุส สิคูลุส (Diodorus Siculus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเมื่อ 300 ปี
ก่อน ค.ศ ได้กล่าวว่า สตีเป็นพิธีใช้่ป้องกันการตายก่อนเวลาอันสมควรของสามี
ซึ่งหมายความว่าถ้าสามีตายอย่างปัจจุบันทันด่วนภรรยาก็ควรจะตายด้วย
เพราะสมัยนั้นนัยว่าภรรยาชอบวางยาพิษสามีมาก (คนอินเดียยุคหลังว่าแกใส่ไข่)
พิธีสตีมารุ่งเรืองสุดขีดในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13-15
ที่เมืองวิชัยนาก้า (Vijayanagar)
จากบันทึกของนิโคโล คอนติ (Nicolo Conti) ชาวอิตาเลียนซึ่งไปวิชัยนาก้า
เมื่อปี 1420 ได้กล่าวว่า หญิงหม้ายแทบไม่เหลืออยู่ในเมืองเลย เพราะทุกคนทำสตี
ตายตามสามีหมด ที่ไม่ทำเองก็โดนจับโยนเข้ากองไฟเป็นที่น่าสยดสยองยิ่งนัก
บางครั้งมีนางสนมกว่า 3,000 คนต้องตายกองกันเป็นภูเขาเลากาน่าอนาถ
เฟอนัว นูนิง (Fernao Nuning) ชาวโปรตุเกสไปวิชัยนาก้าเมื่อปี 1536
เล่าว่ามีมหาราชาองค์หนึ่งมีชายา 500 คน พอมหาราชาตายไปสนมทั้งหมดพร้อม
บริวารก็โดนเผาไปด้วย กลิ่นเนื้อไหม้ตลบอบอวลไปทั้งเมือง
นับว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่สุดจะทนดูได้
พิธีสตีมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. สหมรณะ ฆ่าตัวตายตามวันที่เผาศพสามี
2. อนุมรณะ ฆ่าตัวตายตามวันหลัง (อยู่คนละเมืองไม่สะดวก) แม่หรือพี่สาวน้องสาว
ก็ทำนิยมทำสตีตามลูกชายพี่ชายเหมือนกัน
Mary E.R. Matin เขียนถึงพิธีสตีในหนังสือ Woman in Ancient India
เมื่อปี 1817 ว่า ภรรยาที่ซื่อสัตย์เมื่อได้ข่าวการตายของสามีและมีความประสงค์จะ
อุทิศชีวิตให้ จะต้องทำตัวของเธอเองให้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
ตามที่ปรากฏในถ้อยคำของพระหริ เธอจะสวมเสื้อผ้าย้อมสีแดงด้วยดอกกุสุมภะ
ขอบเสื้อขลิบด้วยไหมใช้ผงสีทาเปลือกตา สวมศีรษะด้วยมาลัยที่ทำด้วยดอกไม้หอม
ประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับต่างๆ จากนั้นเธอจะเลือกหญิงสาว
ที่อยู่ในความดูแลของบิดาเธอมาสี่คน (ญาติ) แล้วให้ของขวัญที่มีสีแดงและดอกไม้
กำไลมือกระแจะจันทน์ที่ทาตาสีดอกอัญชัน เสร็จแล้วเธอก็ให้สิ่งของแก่บิดามารดา
ของสามีผู้ล่วงลับ ให้ของแก่พราหมณ์ลูกหลานและญาติแล้่วจึงก้าวเข้าสู่กองไฟ
พิธีสตีจึงเป็นพิธีพิสูจน์รักแท้ของภรรยาที่ซื่อสัตย์ (เชื่อว่าทำแล้วสามีจะขึ้นสวรรค์)
และการฆาตกรรมสำหรับภรรยาที่ไม่ยินยอม
เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียจึงสั่งให้ยกเลิกพิธีหฤโหดนี้เสียแต่ก็ยังมีคนทำอยู่เสมอมา
แหล่งที่มาข้อมูล http://talk.mthai.com/topic/78929
ด้วยการกระโดดเข้ากองไฟขณะไฟกำลังลุกไหม้ศพของสามี
ซึ่งมีทั้งผู้หญิงที่เต็มใจทำ โดนกดดันจากสังคม โดนล้างสมองด้วยค่านิยมผิดๆ
และโดนจับโยนเข้ากองไฟโดยไม่เต็มใจ
ชาวอินเดียเชื่อว่าพิธีนี้เริ่มมาจากรานีองค์หนึ่ง
ชื่อนารยารานี เทวี ชายาของตันธัน ดัสผู้เสียชีวิตเพราะสุลต่านแห่งแคว้นฮีสสาอยาก
ได้ม้ามงคลเลยแย่งด้วยการสังหารสวามีของนารยารานี นางเสียใจมากเลยยอมตาย
พร้อมสวามีด้วยการกระโดดเข้ากองเพลิง จากนั้นประชาชนก็เลียนแบบมาเรื่อยๆ
และตั้งชื่อนางว่า Rani Sati บริเวณทำสตีได้สร้างเป็นวัดฮินดู
มีแท่นหินอ่อนจารึกประวัติตรงจุดเผาตัวเอง วัดรานีสตีนี้ยังมีสาขาอยู่ทั่วอินเดีย
มีการเฉลิมฉลองช่วงเดือนตุลาคมทุกปี
แต่จากการขุดค้นของนักโบราณคดี
ที่ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณเมื่อปี 1978 ที่ตำบลหาดาห์ รัฐอุตตรประเทศ
ทำให้รู้ว่าพิธีสตีมีมานานเป็นหมื่นปีแล้ว ในคัมภีร์พระเวทริกะวิตาห้ามไม่ให้ทำพิธีสตี
(ต่อมาโดนบิดเบือนสนับสนุนพิธี) ส่วนในคัมภีร์กรุณาปุราณะ
และคัมภีร์ภควคีตาปุราณะ (ค.ศ 900) สรรเสริญความกล้าหาญของชายาพระกฤษณะ
ที่โดดเข้ากองไฟตามพระกฤษณะไปปรโลกทำให้ผู้หญิงอินเดียทั่วไปเอาอย่าง
พิธีสตีแพร่หลายในพวกคาเธีย (Kathia) ในแคว้นปัญจาบ
ดิโอโดรุส สิคูลุส (Diodorus Siculus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเมื่อ 300 ปี
ก่อน ค.ศ ได้กล่าวว่า สตีเป็นพิธีใช้่ป้องกันการตายก่อนเวลาอันสมควรของสามี
ซึ่งหมายความว่าถ้าสามีตายอย่างปัจจุบันทันด่วนภรรยาก็ควรจะตายด้วย
เพราะสมัยนั้นนัยว่าภรรยาชอบวางยาพิษสามีมาก (คนอินเดียยุคหลังว่าแกใส่ไข่)
พิธีสตีมารุ่งเรืองสุดขีดในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13-15
ที่เมืองวิชัยนาก้า (Vijayanagar)
จากบันทึกของนิโคโล คอนติ (Nicolo Conti) ชาวอิตาเลียนซึ่งไปวิชัยนาก้า
เมื่อปี 1420 ได้กล่าวว่า หญิงหม้ายแทบไม่เหลืออยู่ในเมืองเลย เพราะทุกคนทำสตี
ตายตามสามีหมด ที่ไม่ทำเองก็โดนจับโยนเข้ากองไฟเป็นที่น่าสยดสยองยิ่งนัก
บางครั้งมีนางสนมกว่า 3,000 คนต้องตายกองกันเป็นภูเขาเลากาน่าอนาถ
เฟอนัว นูนิง (Fernao Nuning) ชาวโปรตุเกสไปวิชัยนาก้าเมื่อปี 1536
เล่าว่ามีมหาราชาองค์หนึ่งมีชายา 500 คน พอมหาราชาตายไปสนมทั้งหมดพร้อม
บริวารก็โดนเผาไปด้วย กลิ่นเนื้อไหม้ตลบอบอวลไปทั้งเมือง
นับว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่สุดจะทนดูได้
พิธีสตีมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. สหมรณะ ฆ่าตัวตายตามวันที่เผาศพสามี
2. อนุมรณะ ฆ่าตัวตายตามวันหลัง (อยู่คนละเมืองไม่สะดวก) แม่หรือพี่สาวน้องสาว
ก็ทำนิยมทำสตีตามลูกชายพี่ชายเหมือนกัน
Mary E.R. Matin เขียนถึงพิธีสตีในหนังสือ Woman in Ancient India
เมื่อปี 1817 ว่า ภรรยาที่ซื่อสัตย์เมื่อได้ข่าวการตายของสามีและมีความประสงค์จะ
อุทิศชีวิตให้ จะต้องทำตัวของเธอเองให้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
ตามที่ปรากฏในถ้อยคำของพระหริ เธอจะสวมเสื้อผ้าย้อมสีแดงด้วยดอกกุสุมภะ
ขอบเสื้อขลิบด้วยไหมใช้ผงสีทาเปลือกตา สวมศีรษะด้วยมาลัยที่ทำด้วยดอกไม้หอม
ประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับต่างๆ จากนั้นเธอจะเลือกหญิงสาว
ที่อยู่ในความดูแลของบิดาเธอมาสี่คน (ญาติ) แล้วให้ของขวัญที่มีสีแดงและดอกไม้
กำไลมือกระแจะจันทน์ที่ทาตาสีดอกอัญชัน เสร็จแล้วเธอก็ให้สิ่งของแก่บิดามารดา
ของสามีผู้ล่วงลับ ให้ของแก่พราหมณ์ลูกหลานและญาติแล้่วจึงก้าวเข้าสู่กองไฟ
พิธีสตีจึงเป็นพิธีพิสูจน์รักแท้ของภรรยาที่ซื่อสัตย์ (เชื่อว่าทำแล้วสามีจะขึ้นสวรรค์)
และการฆาตกรรมสำหรับภรรยาที่ไม่ยินยอม
เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียจึงสั่งให้ยกเลิกพิธีหฤโหดนี้เสียแต่ก็ยังมีคนทำอยู่เสมอมา
แหล่งที่มาข้อมูล http://talk.mthai.com/topic/78929
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น