ค้นหาบล็อกนี้

ต้อนรับจ้า

สวัสดีผู้ชมทุกท่าน >,

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยาสีฟัน

                   ยาสีฟันหมายถึงสารที่ใช้ทำความสะอาดฟันและลิ้น เพื่อรักษาสุชอนามัยในช่องปาก โดยทั่วไปยาสีฟันมักมีการแต่งสี กลิ่นและรสชาดเพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกสดชื่นฟันสะอาด ยาสีฟันถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอียิปต์โบราณ โดยทำมาจากส่วนผสมของดอกไอริส (iris flowers)  จากนั้นชาวกรีกและชาวโรมันได้มีการพัฒนาสูตรยาสีฟันโดยการเติมสารขัดฟัน (abrasive) เช่น กระดูกป่น หรือเปลือกหอยลงไปในยาสีฟันด้วย ต่อมาช่วงราวศตวรรษที่ 18 ยาสีฟันสูตรอเมริกันและอังกฤษที่ที่มีส่วนผสมของขนมปังเผาอยู่ด้วยก็ได้ถือกำเนิดขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีสูตรยาสีฟันที่มีส่วนผสมของยางต้นไม้ อบเชย และอะลูมินาเผาด้วย  แต่การใช้ยาสีฟันยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนกระทั่งในศตวรรษที่19 ประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทคอลเกตได้คิดค้นยาสีฟันแบบครีมบรรจุในหลอดบีบเพื่อจำหน่ายเป็นครั้งแรก (1)
ในค.ศ.1914 เริ่มมีการเติมฟลูออไรด์ลงในยาสีฟันแต่ยังไม่มีการรับรองถึงประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุจากสมาคมทันตกรรมของอเมริกา จนกระทั่งในค.ศ.1950 บริษัท Procter & Gamble ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุของยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และได้การรับรองจากสมาคมทันตกรรมอเมริกา 
ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่สามารถป้องกันฟันผุมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ   สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้ฟลูออไรด์ที่ผสมในยาสีฟันมีปริมาณได้ไม่เกิน 0.11%หรือ 1,100 ส่วนในล้านส่วน (ppm) และจัดประเภทยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เป็นเครื่องสำอางคุมพิเศษ (2)

ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่มีจำหน่ายใน ท้องตลาดมี 3 ชนิด คือ ชนิดเป็น ครีมขาว (toothpaste) ชนิดผง (toothpowder) และชนิดเจล (gel) จุดประสงค์การใช้ยาสีฟัน
1. เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ (plaque)
2. ป้องกันฟันผุ
3.ป้องกันการอักเสบของเหงือก
4.ใช้กับความมุ่งหมายอื่น เช่น ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าช่องปากสดชื่น สะอาด เป็นต้น
ส่วนประกอบของยาสีฟัน

แหล่งที่มาข้อมูล

ผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
    หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ
 ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
 การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว
 ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ
 เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]
แหล่งที่มาข้อมูล: http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง