“กฎของเมนเดล” (Rules of Heredity หรือกฎของการสืบสายเลือด) ในช่วงปี 1850
แน่นอนว่า...ประวัติศาสตร์แห่งวงการพันธุศาสตร์ต้องเริ่มต้นจาก บาทหลวงชาวออสเตรียที่เป็นนักพฤกษศาสตร์นามว่า “เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล” (Gregor Mendel) ที่ได้ค้นพบข้อมูลการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น โดยเมนเดลได้ทดลองกับพืชตระกูลถั่ว เขาสังเกตว่าลักษณะบางอย่างของต้นถั่วรุ่นลูก อย่างเช่นความสูง การแสดงถึงลักษณะเด่นเหล่านี้จะแตกต่างกันไป
โดยกฎแห่งการสืบสายเลือด หรือกฎของเมนเดลนั้นจะมีลักษณะเด่น (Dominant) และลักษณะด้อย (Recessive) เมื่อพ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นมาผสมกัน ก็จะได้ลูกเด่นทั้งหมด แต่ถ้านำด้อยมาผสมกันก็จะได้ลูกลักษณะด้อยทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้านำเด่นกับด้อยมาผสมกันผลที่ได้ในรุ่นลูกคือ “เด่น” ทั้งหมด แต่ถ้านำไปผสมกันในรุ่นหลานก็จะได้ เด่นแท้-ด้อยแท้-เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน ลองดูตามตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย
1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT)
2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt)
3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt)
4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3
ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50%
5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4
เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา
ผลงาน
เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา
เอกสารอ้างอิง http://www.mgronline.com/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000089123
ค้นหาบล็อกนี้
ต้อนรับจ้า
สวัสดีผู้ชมทุกท่าน >,
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
คำถามดาราศาสตร์พื้นฐาน
1. ดาวเคราะห์อะไรบ้างที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่า
2. แถบดาวเคราะห์แคระอยู่ระหว่างดาวใด
3. กาลิเลโอ สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคนแรก และค้นพบอะไรบ้าง (มี 4 ข้อ)
4. ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสที่กาลิเลโอพบมีชื่อว่าอะไรบ้าง
5. ระบบสุริยะมีขอบเขตกว้างเท่าไร
6. ระบบสุริยะมีอายุประมาณเท่าใด
7. โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามกฎมืออะไร
8. ดาวศุกร์หมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นเพราะเหตุใด
9. อุกกาบาตมีกี่ชนิด
10. ดาวหางประกอบด้วยอะไรบ้าง
11. โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศใดไปทิศใด
12. กฎทั้งสามข้อของเคปเลอร์ (Kepler) กล่าวถึงอะไรบ้าง
13. หนึ่งวันโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์กี่องศา จงแสดงวิธีคิดด้วย
เฉลย
1.พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์
2.ดาวอังคารกับดาวพฤหัส
3.ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส 4 ดวง, จุดดำบนดวงอาทิตย์, ดาวศุกร์มีเสี้ยวเหมือนดวงจันทร์, บนดวงจันทร์มีหลุมอุกกาบาต
4.ไอโอ ยูโรปา กานีมีด คาลลีสโต
5.มีขอบเขตรัศมีกว้าง 2.4 ปีแสง
6.มีอายุประมาณ 4600 ล้านปี
7.มือขวา
8.ดาวศุกร์มีแกนหมุนชี้คนละด้านกับดาวเคราะห์ดวงอื่น
9. 3 ชนิด
10.ประกอบด้วย นิวเคลียส โคม่า และหาง มีน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และเปลือกแข็งมีเศษฝุ่นปนน้ำแข็ง
11.ทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก
12.ข้อที่1 คือ กฎแห่งงการโคจรรูปวงรี
ข้อที่ 2 คือ กฎแห่งพื้นที่
ข้อที่3 คือ กฎแห่งคาบ
13. 1 องศา
วิธีทำ 365.25 วัน = 360 องศา
1 วัน = 360 * 1/365.25 วัน
= 0.98
ดังนั้น 1 วันได้ประมาณ 1 องศา
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การจำแนกพวกของดาวเคราะห์
การจำแนกพวกของดาวเคราะห์สามารถแบ่งได้ 3 วิธี คือ
1. กำหนดจากวงโคจรของโลกเป็นหลัก
2. กำหนดจากวงโคจรของแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นหลัก
3. พิจารณาจากองค์ประกอบคล้ายคลึงกับโลก
****การกำหนดจากวงโคจรของโลกเป็นหลัก
1. ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets)
คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่าโลก ได้แก่ พุธและศุกร์
คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่าโลก ได้แก่ พุธและศุกร์
2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ อังคาร พฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัสและเนปจูน
กำหนดจากแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นหลัก
1. ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคาร
2. ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อย ได้แก่ ดาว พฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน
พิจารณาองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับโลก
1. Terrestrial Planets (ดาวเคราะห์หิน) คือ ดาวเคราะห์ที่องค์ประกอบคล้ายโลก คือ พุธ ศุกร์ โลกและอังคาร
2. Jovian Planets (ดาวเคราะห์แก๊ส) คือ ดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสฯ คือ พฤหัสฯ เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)