ค้นหาบล็อกนี้

ต้อนรับจ้า

สวัสดีผู้ชมทุกท่าน >,

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

4.การเผยแพร่สารสนเทศ(จงกล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่สาระสนเทศผ่าานเครือค่ายอินเทอร์เน็ตมา 2 รูปแบบ)

4.การเผยแพร่สารสนเทศ(จงกล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่สาระสนเทศผ่าานเครือค่ายอินเทอร์เน็ตมา 2 รูปแบบ)
  4.1.การเผยแพรสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่เป็นการเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยตรง ได้แก่
การจัดทำเว็บเพจ(Web page)ฝากไว้ในเว็บไซต์(Web site) วีธีนี้ผู้ที่ทราบ URL ของเว็บเพจนั้นจะสามารถเข้าอ่านเอกสาร
ที่เผยแพร่ได้โดยตรง หรือหากไม่ทราบ URL แต่สามารถระบุคำสำคัญที่มีอยู่ในเว็บเพจนั้น ก็อาจค้นหาผ่านโปรแกรมเรียกค้นหาข้อมูลได้
จึงเป็นวิธีที่สามารถคาดหวังผลได้มากที่สุด
  4.2.การเผยแพร่ข่าวสารอีกรูปแบบหนึ่งคือ กระดานข้อความ(Messege board) ซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้ต้องการเผยแพร่ข้อมูล
จะพิมพ์ข้อความไปฝากไว้ในกระดานข้อความ โดยอาจถามเป็นคำถามหรือแสดงความคิดเห็นก็ได้ ผู้ที่มาอ่านพบอาจตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมก็ได้
       บล็อกหรือเว็บบล็อก (Blog or weblog) เป็นการฝากข้อเขียนที่มีลักษณะคล้ายสมุดยบันทึกส่วนบุคคล เรื่องราวที่เขียนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นบันทึกประจำวันเท่านั้น
แต่จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่อยากเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้อ่าน ปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมากที่รับฝากบล็อก เช่น Bloggang.com และกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่สำหรับผู้อ่าน และเป็นการเปิดโอกาส
สำหรับนักเขียนหน้าใหม่

เสนอ คุณครู พุธชาติ  มั่นเมือง

ที่มา :หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
เรียบเรียงโดย รส.ดร.ถวัลย์วงศ์  ไกรโรจนานันท์
                     นายโกสันต์  เทพสิทธิ์ทรากรณ์

3.ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต(ข้อควรระวังในการสืบค้นจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีวิธีการอะไรบ้าง)

3.ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต(ข้อควรระวังในการสืบค้นจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีวิธีการอะไรบ้าง)
 1. ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ท่านสามารถมองเห็นได้ ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนตัวของบุตรหลาน เช่นห้องนอน เป็นต้น
 2. ทำข้อตกลงกับบุตรหลานถึงระยะเวลาที่ให้ใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารต่างๆ ได้
 3. อย่าลืมทำการอัพเดทซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยทุกๆ ตัวอย่างสม่ำเสมอ
 4. ทำข้อตกลงกับบุตรหลานถึงเว็บไซต์ใดท่านอนุญาตที่เข้าได้หรือเว็บไซต์ใดไม่ให้เข้า
 5. ใช้เทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล (URL filtering) เพื่อป้องกันบุตรหลานไม่ให้เข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
 6. ทำการตวรจสอบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่จะเข้าเยี่ยม ชมด้วยการทำ Website Reputation ซึ่งสามารถทำได้จากหลายๆ เว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ http://reclassify.wrs.trendmicro.com/
 7. ตรวจสอบเนื้อหาและนโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ที่บุตรหลานเข้าเยี่ยมชมบ่อยๆ
 8. ให้พูดคุย ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับขอบเขตการให้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ บนโลกออนไลน์
 9. ให้ความรู้ คำแนะนำ และคอยเตือนบุตรหลานให้ทราบถึงอันตรายจากคนแปลกหน้า และแนะนำให้บุตรหลายไม่ให้ติดต่อหรือนัดพบกับบุคคลที่รู้จักกันบนอินเทอร์ เน็ตโดยเด้ดขาด
 10. ทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมรักษาความปลอดภัยแบบแมนนวล และตรวจสอบข้อมูลประวัติการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ
 11. แนะนำบุตรหลานว่าถ้าจำเป็นต้องใช้บริการแชร์ข้อมูล เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลให้เลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมาย
 12. แนะนำบุตรหลานว่าในการใช้บริการเว็บไซต์ Social Networking ให้กำหนดโปรไฟล์การใช้งานบริการเป็นแบบไปรเวท
 13. แนะนำบุตรหลานว่าให้ใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริงในการแสดงตนบนโลกออนไลน์
 14. แนะนำบุตรหลานให้ระมัดระวังเกี่ยวการโพสต์แสดงข้อความหรือการแสดงความเห็นต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
 15. แนะนำและส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนรู้จักการเคารพสิทธิของผู้อื่น
 16. เมื่อบุตรหลานต้องการซื้อของจากอินเทอร์เน็ต ให้ท่านทำการตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนที่จะอนุญาตให้บุตรหลานซื้อของจาก เว็บไซต์ดังกล่าว
 17. ให้ความรู้และคำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับการใช้รหัสผ่านในการเข้าใช้งาน ระบบต่างๆ ควรแนะนำให้บุตรหลานใช้รหัสผ่านที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับชื่อจริง ชื่อเล่น หรือข้อมูลส่วนตัวที่หาแสดงหรือได้บนอินเทอร์เน็ต
 18. ให้ท่านทำการตรวจสอบเว็บไซต์ Social Networking ที่บุตรหลานใช้งานเป็นระยะๆ
 19. ติดตั้งใช้งานโปรแกรมด้านความปลอดภัยและทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ
 20. สิ่งสำคัญที่สุดคือ ให้ท่านติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับข่าวคราวการระบาดของของมัลแวร์และภัย คุกคามต่างๆบนอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ


เสนอ คุณครู พุธชาติ  มั่นเมือง
ที่มา :http://kirayamato27.exteen.com/20090905/entry

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

         คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่หลากหลายและมีโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เหมือนกับเป็นดัชนีย่อยในการค้นหาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานในประเทศไทย  เช่น  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเรื่องราวที่หน้าสนใจอีกด้วย
   ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมีทั้งถูกต้องและเป็นประโยชน์และไม่ถูกต้องและอาจเป็นภัยต่อผู้คนในสังคมหรือผู้อื่นก็เป็นได้  ดังนั้นการใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตครวพิจารณอยย่างเหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้อินเตอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องการรับส่งข้อมูลข่าวสาร

มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต
   มารยาทของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการแบ่งออกเป็น4ด้านได้แก่
1ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย
1.1ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชีและรหัสผ่านของตนไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้
1.2ควรเก็บรัการหัสผ่านของตัวเองเป็นความลับ
1.3ควรวางแผนการใช้ล่วงหน้าของการติดต่อกับเครือข่าย
1.4เลือถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลแปรแกรมต่างๆ
1.5ก่อนเข้าใช้บริการควรศึกษากฎระเบียบ

2ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย
2.1เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
2.2ควรอ้างแหล่งที่มาของข้อมูล
2.3ไม่ควรนำข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่

3ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้
3.1ใช้ภาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร
3.2ใช้ข้อความที่สั้นกระทัดรักเข้าใจง่าย
3.3ไม่ควรนำเรื่องส่วนต้วของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา
3.4หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น
3.5ไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่ที่ก่อความรำคาญ

4.ด้านระยะเวลาในการใช้หริการ
4.1ควรคำนึงถึงเวลาในการติดต่อ
4.2ควรติดต่อกับเครือข่ายเวลาใช่งานจริงๆ

 
  มารยาทของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
1.ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
2.ควรใช้ภาที่สุภาพ
3.ควรเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์
4.ควรบีบอัดภาพหรืข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่
5.ควรระบุแหล่งที่มา
6.ควรระบุข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจน
7.ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารรวมทั้งโปรอกรมก่อนได้รับอนุญาต
8.ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย

เสนอคุณครูพุธชาติ  มั่นเมือง
ที่มา http://www.learners.in.th/blog/m2-02-37/274880

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเอง

ด.ญ. จิตรเลขา  ทับสุริ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  เลขที่ 11
ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนตากพิทยาคม
เสนอ อ.พุธชาติ  มั่นเมือง